วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ระบบประสาท

ระบบประสาท (nervous system)


ระบบประสาท คือระบบการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งตามหน้าที่ออกเป็นระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทรอบนอก

ระบบประสาทส่วนกลาง เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของร่างกาย ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเซลล์ประสาท

สมอง (brain) เป็นศูนย์กลางของระบบประสาททั้งหมด

1. สมองส่วนหน้า

        1.1 ซีรีบรัม (Cerebrum) มีขนาดใหญ่สุดรอยหยักมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ควบคุมการเคลื่อนไหว ความรู้สึก และประสาทสัมผัส

        1.2 ทาลามัส (Thalamus) เป็นตัวกลางถ่ายทอดกระแสประสาทในสมอง

        1.3 ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลร่างกายและการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การหายใจ การหลับ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น

2.สมองส่วนกลาง มีเซลล์เชื่อมระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับตา ทำให้ลูกตากลอกไปมา และม่านตาหดขยายได้

3.สมองส่วนท้าย

3.1 ซีรีเบลลัม (Cerebellum) อยู่ใต้ซีรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อและการทรงตัว

3.2 พอนส์ (Pons) อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม มีใยประสาทเชื่อมระหว่างซีรีบรัมและซีรีเบลลัม ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวพร้อมกับทรงตัวได้

3.3 เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata) อยู่ติดกับพอนส์ทางด้านบน เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น การหายใจ

สมองส่วนกลาง พอนส์ และเมดัลลาออบลองกาตา รวมกันเรียกว่า "ก้านสมอง (brain stem)"

ไขสันหลัง (spinal cord) ทำหน้าที่เชื่อมกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกทั่วร่างกายกับสมอง

เซลล์ประสาท (neuron) เป็นกลุ่มของใยประสาทหลายอันที่มารวมกัน ใยประสาทรับความรู้สีก เรียกว่า เดนไดรท์ (dendrite) ส่วนใยประสาทที่ส่งความรู้สึกเรียกว่า แอกซอน (axon) เซลล์ประสาทมี 3 ส่วน ได้แก่

1.เซลล์ประสาทรับความรู้สึก รับกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัส เข้าสู่สมองและไขสันหลัง
2.เซลล์ประสาทนำคำสั่ง เชื่อมเซลล์ประสาทรับความรู้สึกกับสมอง ไขสันหลัง และเซลล์ประสาทสั่งการ
3.เซลล์ประสาทสั่งการ รับคำสั่งจากสมองหรือไขสันหลังให้ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ

ระบบประสาทรอบนอก 

        ประกอบด้วยหน่วยรับความรู้สึกทั้งหมด เข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง และนำกระแสประสาทสั่งการจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังหน่วยรับความรู้สึกและอวัยวะรับสัมผัส รวมทั้งเซลล์ประสาท ซึ่งจำแนกตามลักษณะการทำงานได้ 2 แบบ คือ

        1.ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ ควบคุมการทำงานของอวัยวะและกล้ามเนื้อที่บังคับได้
        2.ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ เป็นระบบประสาทที่ไม่ต้องอาศัยคำสั่งจากสมอง เรียกว่า ปฏิกิริยารีเฟลกซ์ ซึ่งตอบนองต่อสิ่งเร้าทันที เช่น เมื่อนิ้วถูกความร้อน กระแสประสาทจะส่งไปไขสันหลัง ไม่ผ่านสมอง ไขสันหลังจะสั่งให้กล้ามเนื้อที่แขนหดตัวและดึงมือออกทันที

การตอบสนองต่อสิ่งเร้า
            การตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งภายใน เช่น ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความต้องการทางเพศ เป็นต้น และสิ่งเร้าภายนอกร่างกาย เช่น แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส สารเคมี เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น