วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ระบบหมุนเวียนเลือด

ระบบไหลเวียนโลหิตของมนุษย์ (Circulatory System)

ในระบบหมุนเวียนโลหิตของมนุษย์เป็นระบบปิด ได้แก่

              1. เลือด (Blood) ประกอบด้วยน้ำเลือดหรือพลาสมา เซลล์เม็ดเลือด และเกล็ดเลือด
           1.1 น้ำเลือดหรือพลาสมา (plasma) เป็นน้ำร้อยละ 91 ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารเข้าสู่ร่างกายและส่งของเสียไปกำจัด
           1.2 เซลล์เม็ดเลือดแดง (red blood cell) สร้างจากไขกระดูก ในขณะที่เจริญไม่เต็มที่มีนิวเคลียส แต่เมื่อเจริญเต็มที่นิวเคลียสจะสลายไป ซึ่งเซลล์บุ๋มตรงกลางคล้ายโดนัท ภายในมีสารฮีโมโกลบินที่จับกับแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ เซลล์มีอายุ 110-120 วัน โดยถูกนำไปทำลายที่ตับและม้าม
           1.3 เซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cell) สร้างที่ไขกระดูกและม้าม มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง ค่อนข้างกลมแบนและมีนิวเคลียสอยู่ตลอดชีวิตของเซลล์ ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี (antibody) เพื่อทำลายเชื้อโรคในร่างกาย เซลล์มีอายุ 7-14 วัน โดยถูกส่งไปทำลายที่ตับและม้าม
           1.4 เกล็ดเลือด (platelet) เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ แต่ไม่ใช่เซลล์ ลักษณะเป็นแผ่นรีแบน ช่วยให้เลือดแข็งตัว เมื่อเกิดแผล
2. หลอดเลือด (Blood Vessel) เป็นท่อส่งเลือด การบีบตัวของผนังหลอดเลือดทำให้เกิดแรงดัน เลือดไหลตามหลอดเลือด ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) หลอดเลือดดำ (vein) และหลอดเลือดฝอย (capillary)
3. หัวใจ (Heart) เป็นอวัยวะที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรง เพื่อสูบฉีดเลือดตลอดเวลา ระหว่างหัวใจห้องบนและล่างมีลิ้นหัวใจกั้นอยู่ ทำหน้าที่ไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ

การหมุนเวียนของเลือดผ่านหัวใจ

            หัวใจรับเลือดที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากหลอดเลือดดำทั่วร่างกายเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาลงหัวใจห้องล่างขวา แล้วสูบฉีดเลือดไปยังปอดเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส จากนั้นแก๊สออกซิเจนจากปอดจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดแดง ไหลกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย ลงสู่หัวใจห้องล่างซ้าย แล้วสูบฉีดเลือดไปยังทั่วร่างกาย แล้วกลับไปยังหัวใจ

ความดันเลือด

            ความดันเลือด เกิดจากการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ ทำให้เลือดไหลไปตามหลอดเลือด ค่าความดันมีตัวเลข 2 ค่า มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรของปรอท (mmHg) เช่น ค่าความดันของคนปกติเป็น 120/80 mmHg เลขตัวแรกคือความดันเลือดสูงสุด ขณะหัวใจบีบตัว เรียกว่า ความดันซิสโทลิก (systolic pressure) ส่วนเลขตัวหลังคือความดันเลือดต่ำสุดขณะหัวใจคลายตัวเรียกว่า ความดันไดแอสโทลิก (diastolic pressure)

            ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด เช่น ผู้สูงอายุมีความดันเลือดสูงกว่าเด็ก เพศชายมีความดันเลือดสูงกว่าเพศหญิง คนที่สูงใหญ่มักมีความดันเลือดสูงกว่าคนที่มีร่างกายขนาดเล็ก เป็นต้น

ชีพจร

            ชีพจรคือจังหวะการหดและคลายตัวของผนังหลอดเลือด หรือจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งคนปกติอยู่ 60-100 ครั้งต่อนาที และจังหวะคงที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น