วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภาวะแข่งขัน (Competition : - ,-)


ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตในภาวะแข่งขัน
ชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกัน
ฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์(-)
อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์(-)
ช้าง



แย่งชิงกันครอบครองที่อยู่อาศัย
จึงทำให้เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
เสือกับสิงโต


เสือกับสิงโตอาศัยอยู่พื้นที่เดียวกันแย่งอาหารกันแย่งชิงกันครอบครองที่อยู่อาศัย
จึงทำให้เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
เสือ

อาศัยอยู่พื้นที่เดียวกันแย่งอาหารกันแย่งชิงกันครอบครองที่อยู่อาศัย
จึงทำให้เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ภาวะล่าเหยื่อ (Predation : + , -)

ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตในภาวะภาวะล่าเหยื่อ
ชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกัน
ประโยชน์ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับ (+)
อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์(-)
แมวกินหนู

แมวจับกินหนูเป็นอาหารหรือผู้ล่า
หนูถูกจับเป็นอาหารหรือถูกล่า เรียกว่า เหยื่อ
เหยี่ยวกินปลา

เหยี่ยวจับกินปลาเป็นอาหารหรือผู้ล่า
ปลาถูกจับเป็นอาหารหรือถูกล่า เรียกว่า เหยื่อ
เสือกินกวาง


เสือไล่จับกินกวางเป็นอาหารหรือผู้ล่า
กวางถูกจับเป็นอาหารหรือถูกล่า เรียกว่า เหยื่อ

ภาวะปรสิต (Parasitism : + , -)

ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตในภาวะปรสิต
ชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกัน
ประโยชน์ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับ (+)
อีกฝ่ายหนึ่งที่เสียประโยชน์(-)
เห็บกับสุนัข


เห็บดูดกินเลือดจากสุนัข
สุนัขเสียเลือด





กาฝากกับต้นไม้

กาฝากดูดกินน้ำและอาหารจากต้นไม้
ต้นไม้ถูกแย่งน้ำและอาหาร และอาจตายได้





พยาธิ ในร่างกายสัตว์
  
พยาธิจะดูดสารอาหารจากร่างกายสัตว์
แย่งดูดซึมอาหารเท่านั้น บางชนิดก็ก่อให้เกิดพยาธิสภาพรุนแรงถึงชีวิต

ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล (Commensalism : + , 0)


ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตในภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล
ชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกัน
ประโยชน์ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับ (+)
อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์(0)
ปลาฉลามกับเหาฉลาม

เหาฉลามเกาะติดกับปลาฉลาม ได้เศษอาหารจากปลาฉลาม

ปลาฉลามก็ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร 
นกทำรังบนต้นไม้
นกได้ที่อยู่อาศัย หลบภัยจากศัตรูธรรมชาติ

ต้นไม้ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร

พืชอิงอาศัย

ชายผ้าสีดาหรือกล้วยไม้เกาะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ได้รับความชุ่มชื้น ที่อยู่อาศัยและแสงสว่างที่เหมาะสม
ต้นไม้ใหญ่ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ใด ๆ 

ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation : + ,+ )


ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในภาวะการได้ประโยชน์ร่วมกัน
ชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกัน
ประโยชน์ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับ (+)
ประโยชน์ที่อีกฝ่ายหนึ่งได้รับ (+)
ดอกไม้กับแมลง

ดอกไม้ได้แมลงช่วยผสมเกสร เพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไป




แมลงได้อาหารประเภทน้ำหวานจากดอกไม้
ควายกับนกเอี้ยง



นกเอี้ยงได้กินแมลงต่างๆ บนหลังควายเป็นอาหาร
ควายสบายตัวขึ้น ไม่รำคาญแมลงที่มาตอม และรู้ตัวก่อนที่ศัตรูจะมาเข้าใกล้
มดดำกับเพลี้ย

เพลี้ยอาศัยมดดำพาไปวางไว้ตามต้นพืช เพื่อดูดน้ำเลี้ยงจากพืชเป็นอาหาร
มดดำได้อาหารจากเพลี้ยด้วยการดูดน้ำเลี้ยงจากเพลี้ย





ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล

ปูเสฉวนอาศัยดอกไม้ทะเลช่วยพรางตาศัตรูให้ตัวเองปลอดภัยเพราะดอกไม้ทะเลมีเข็มพิษป้องกันศัตรูได้


ดอกไม้ทะเลอาศัยปูเสฉวนช่วยพาเคลื่อนที่ไปหาอาหาร

ภาวะพึ่งพากัน(Mutualism : +,+)

ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในภาวะพึ่งพากัน
ชนิดของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกัน
ประโยชน์ที่ฝ่ายหนึ่งได้รับ (+)
ประโยชน์ที่อีกฝ่ายหนึ่งได้รับ (+)
ไลเคน (รากับสาหร่ายสีเขียว)


ราได้อาหารจากสาหร่ายสีเขียว ซึ่งสร้างอาหารเองได้ด้วยการสังเคราะห์แสง
สาหร่ายสีเขียวได้รับความชื้นจากรา เพื่อนำมาสร้างอาหาร
แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์




แบคทีเรียชนิด Escherichia coli ช่วยย่อยกากอาหารและสร้างวิตามิน K , B ให้มนุษย์
มนุษย์ให้ที่อยู่อาศัยและอาหารแก่แบคที่เรีย 


พืชตระกูลถั่วกับแบคทีเรียที่ปมราก



แบคทีเรียได้อาหารและที่อยู่อาศัยจากต้นถั่ว

ต้นพืชตระกูลถั่วได้รับอาหารจากการตรึงแก๊สไนโตรเจนจากอากาศของแบคทีเรีย





ปลวกกับโพรโทซัวในลำไส้ปลวก




โพรโทซัวได้ที่อยู่อาศัยและอาหารจากปลวก

ปลวกอาศัยโพรโทซัวช่วยย่อยไม้ที่กินเข้าไป